A small tool to view real-world ActivityPub objects as JSON! Enter a URL
or username from Mastodon or a similar service below, and we'll send a
request with
the right
Accept
header
to the server to view the underlying object.
{
"@context": "https://www.w3.org/ns/activitystreams",
"type": "OrderedCollectionPage",
"orderedItems": [
{
"type": "Create",
"actor": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730",
"object": {
"type": "Note",
"id": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/entities/urn:activity:820287573801979904",
"attributedTo": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730",
"content": "ได้คุยกับ จุมพล อภิสุข แบบเต็มๆ เป็นครั้งแรก และได้คุยทุกเรื่องตั้งแต่เรื่องเก่าๆ ในแวดวงศิลปะในประเทศไทย ยุคสมัยของ Tab Root เชียงใหม่ บ้านตึก กทม. ไปจนถึงความคิดลึกๆ ของแกที่ทำให้เห็นว่าแกไม่ใช่ performance artist แต่เป็นมนุษย์ (แอบอัดเทปไว้บ้างบางช่วง แต่ช่วงก่อนจะทนหนาวไม่ไหวแล้วแยกย้าย สำคัญสุด แบตดันหมด! ดอก)<br /><br />จดไว้คร่าวๆ เท่าที่ความทรงจำยังพอเหลือรอดจากแรงชะล้างด้วย น้ำหนึ่ง 50 ดีกรี: เหตุผลของการ performance ของแกในตอนแรกเริ่ม (ทั้งที่แกก็ทำงานอื่นๆ อีกหลายเทคนิค ดังที่จะเห็นได้ในบ้านแก) ไม่ใช่อะไรอื่น แต่มาจากการต้าน commodification ที่ปฏิเสธการทำศิลปะให้แปลกแยกจากผู้กระทำ สำหรับแกแล้วศิลปะคือความสามารถที่มนุษย์มีในตัว แต่เมื่อการตลาดศิลปะยกคุณค่าความสามารถนี้ให้เหนือกว่าความสามารถอื่น ใส่ราคาสูงๆ ให้มัน เราก็พร้อมจะหลงลืมสิ่งอื่นๆ ที่มีในตัวเองลงไปเพื่อเป็นศิลปินเต็มตัวในระบบ<br /><br />หอศิลป์ที่กว้านซื้องานศิลปะ จนศิลปินยังยอมรับการผลิตซ้ำเพื่อขายให้ได้มากๆ จึงไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากจักรกลการลดทอนความเป็นคนในตัวศิลปิน ซึ่งนั่นทำให้แกกำลังสนใจที่จะสร้างชุมชน post-capitalism ขึ้นมา ที่จะหนีจากระบบทุนนิยมสุดโต่งและคงความเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพในการทำตามความปรารถนาที่หลากหลายในตนเองได้ รักษาความสามารถที่ทุนไม่ให้ value เอาไว้ โดยเฉพาะภูมิปัญญาในชีวิตปนะจำวัน (แต่ยังไม่พบวิธีการที่แกคิดว่าเหมาะกับปัจจุบัน)<br /><br />ตรงนี้เองที่เราได้คุยกันต่อถึงเทศกาลศิลปะในฐานะของการขยายอาณานิคมด้วยการกวาดต้อนศิลปินนานาชาติมาผลิตซ้ำความสามารถทางการผลิตที่แยกขาดจากบริบท และลามไปถึงงานช่วงปี 2000 ต้นๆ ที่แกยืนสวมชุดชาวนากางร่มให้เก้าอี้กลางที่สาธารณะ ราวกับภาพจากยุค colonial ซึ่งยิ่งดูยอกย้อนเมื่อมีฝรั่งมานั่ง เวลาไปแสดงในเทศกาลศิลปะในต่างประเทศ (มีความคิดอื่นๆ ปะปนในการคิดงานนี้ขึ้นมาอีกมากมาย เช่นสถานการณ์เรียกร้องหอศิลป์ กทม. ความสัมพันธ์ของศิลปะในที่สาธารณะ ฯลฯ)<br /><br />ลึกๆ แล้ว แกนี่สาย Debord ชัดๆ",
"to": [
"https://www.w3.org/ns/activitystreams#Public"
],
"cc": [
"https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/followers"
],
"tag": [],
"url": "https://www.minds.com/newsfeed/820287573801979904",
"published": "2018-03-13T13:29:57+00:00",
"source": {
"content": "ได้คุยกับ จุมพล อภิสุข แบบเต็มๆ เป็นครั้งแรก และได้คุยทุกเรื่องตั้งแต่เรื่องเก่าๆ ในแวดวงศิลปะในประเทศไทย ยุคสมัยของ Tab Root เชียงใหม่ บ้านตึก กทม. ไปจนถึงความคิดลึกๆ ของแกที่ทำให้เห็นว่าแกไม่ใช่ performance artist แต่เป็นมนุษย์ (แอบอัดเทปไว้บ้างบางช่วง แต่ช่วงก่อนจะทนหนาวไม่ไหวแล้วแยกย้าย สำคัญสุด แบตดันหมด! ดอก)\n\nจดไว้คร่าวๆ เท่าที่ความทรงจำยังพอเหลือรอดจากแรงชะล้างด้วย น้ำหนึ่ง 50 ดีกรี: เหตุผลของการ performance ของแกในตอนแรกเริ่ม (ทั้งที่แกก็ทำงานอื่นๆ อีกหลายเทคนิค ดังที่จะเห็นได้ในบ้านแก) ไม่ใช่อะไรอื่น แต่มาจากการต้าน commodification ที่ปฏิเสธการทำศิลปะให้แปลกแยกจากผู้กระทำ สำหรับแกแล้วศิลปะคือความสามารถที่มนุษย์มีในตัว แต่เมื่อการตลาดศิลปะยกคุณค่าความสามารถนี้ให้เหนือกว่าความสามารถอื่น ใส่ราคาสูงๆ ให้มัน เราก็พร้อมจะหลงลืมสิ่งอื่นๆ ที่มีในตัวเองลงไปเพื่อเป็นศิลปินเต็มตัวในระบบ\n\nหอศิลป์ที่กว้านซื้องานศิลปะ จนศิลปินยังยอมรับการผลิตซ้ำเพื่อขายให้ได้มากๆ จึงไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากจักรกลการลดทอนความเป็นคนในตัวศิลปิน ซึ่งนั่นทำให้แกกำลังสนใจที่จะสร้างชุมชน post-capitalism ขึ้นมา ที่จะหนีจากระบบทุนนิยมสุดโต่งและคงความเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพในการทำตามความปรารถนาที่หลากหลายในตนเองได้ รักษาความสามารถที่ทุนไม่ให้ value เอาไว้ โดยเฉพาะภูมิปัญญาในชีวิตปนะจำวัน (แต่ยังไม่พบวิธีการที่แกคิดว่าเหมาะกับปัจจุบัน)\n\nตรงนี้เองที่เราได้คุยกันต่อถึงเทศกาลศิลปะในฐานะของการขยายอาณานิคมด้วยการกวาดต้อนศิลปินนานาชาติมาผลิตซ้ำความสามารถทางการผลิตที่แยกขาดจากบริบท และลามไปถึงงานช่วงปี 2000 ต้นๆ ที่แกยืนสวมชุดชาวนากางร่มให้เก้าอี้กลางที่สาธารณะ ราวกับภาพจากยุค colonial ซึ่งยิ่งดูยอกย้อนเมื่อมีฝรั่งมานั่ง เวลาไปแสดงในเทศกาลศิลปะในต่างประเทศ (มีความคิดอื่นๆ ปะปนในการคิดงานนี้ขึ้นมาอีกมากมาย เช่นสถานการณ์เรียกร้องหอศิลป์ กทม. ความสัมพันธ์ของศิลปะในที่สาธารณะ ฯลฯ)\n\nลึกๆ แล้ว แกนี่สาย Debord ชัดๆ",
"mediaType": "text/plain"
}
},
"id": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/entities/urn:activity:820287573801979904/activity"
},
{
"type": "Create",
"actor": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730",
"object": {
"type": "Note",
"id": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/entities/urn:activity:706408133198618628",
"attributedTo": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730",
"content": "เพิ่งยืนยันข่าว minimal. gallery เลิกกิจการไป อีกไม่กี่เดือนจะครบ 10 ปีแล้วแท้ๆ เศร้าเหมือนกัน ด้วยเป็นที่สิงสู่ที่แรกๆ ช่วงย้ายมาอยู่เชียงใหม่ แสดงงานในเชียงใหม่ครั้งแรกก็ที่นี่ จนพอพ้นวัยพ้นกลุ่มคนก็ห่างๆ กันไป ที่จริงก็ใจหายไปรอบนึงแล้วตั้งแต่ตอนร้านโดนคดี x2 ม.44 ระงับใบอนุญาตขายเหล้าไป ศิลปะมันจะแยกจากเมรัยได้ยังไงกัน ยกเว้นเสียแต่จะเป็นคนชอบแสดงตนอยู่ในจริตศีลธรรมสูงส่งจนพ้นความเป็นคน หรือร่างกายเสื่อมชราจนโดนหมอสั่งแบนแอลกอฮอล์ มนุษย์ไม่ได้เข้าใกล้กันง่ายดาย และรายได้แกลเลอรี่เล็กๆ ก็มีเหล้านี่แหละที่พอจะขับเคลื่อนให้คล่องตัว<br /><br />มินิมอล.เป็นพื้นที่สำคัญในการหล่อหลอมวัฒนธรรมคนรุ่น \"หลัง\" ควันหลงเชียงใหม่จัดวางฯ ช่วงเวลาที่ศิลปินร่วมสมัยที่ลุยกันมาตั้งแต่ยุค 90 กำลังเข้าไปต่อรองกับกลุ่มประเพณีนิยม/ท้องถิ่นนิยมใน หอศิลป์ มช.ฯ รวมถึงออกไปแสดงพลังในเวทีนานาชาติ เด็กท้องถิ่นก็กำลังแกว่งไกวด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลและสภาวะโลกาภิวัตน์ที่พาสิ่งใหม่ๆ มากมายไหลบ่าเข้ามาให้ลองให้เรียนรู้กัน ไม่ว่าจะเป็น lomography / ดนตรี indie / graffiti / illustration / graphic art / interactive / programming ซึ่งล้วนแล้วแต่ตั้งตนขบถต่อมาตรฐานที่ปักหลักก่อนหน้าตนมายาวนานในวงการต่างๆ การเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จะไม่เติบโตเลยหากไม่มีพื้นที่ให้บ่มเพาะทั้งการสร้างสรรค์ ผลิตมันขึ้นมาให้เห็น และเสพใช้มัน<br /><br />มินิมอล.เริ่มต้นบนนิมมานซอย 13 เมื่อปี 2007 สปิริตที่สำคัญในเชียงใหม่ช่วงนั้น คือ สปิริตแห่งการทดลอง-ความผิดท่าผิดกลิ่น-การหาคำถามใหม่ที่ไม่พาไปสู่คำตอบเก่าๆ เมืองที่ไม่ใช่เมืองหลวง แต่ก็อยากเป็นตัวของตัวเอง ที่ไม่ใช่ที่เคยมีมากว่า 700 ปี ก่อนหน้านั้น มันไม่ง่ายเลยที่ของใหม่ๆ เหล่านี้จะมีคนอุดหนุนซื้อขายกัน แต่ ทีมมินิมอล. กลับเลือกจะทำแกลเลอรี่ที่ลุยไปกับวัฒนธรรมที่ยังเยาว์เหล่านี้ ทั้งเปิดพื้นที่ให้คนทุกกลุ่มได้แสดงออก จัดหาตัวเจ๋งๆ จากเมืองอื่นๆ มาให้ได้ดูกัน ชักชวนผู้คนมาสร้างส่วนผสมที่คนอื่นเค้าไม่ผสมกัน<br /><br />ยังจำได้ถึงงานแสดงผลงานของ วรุฒม์ ปันยารชุน, งานศิลปะจากเพลงของ รงค์ สุภารัตน์, นิทรรศการจากโครงการ One Year Project ของ The Land Foundation, งาน ลายสังเคราะห์ กราฟฟิกเสื้อยืด, หุ่นยนต์อินเตอร์แอ็คทีฟผสม performance พี่คาเงะ, ไอ้เป็ดแปลงร่างเป็นตำรวจมาแจกใบสั่งบังคับให้ทุกคนเมา-มัน ฯลฯ (madiFESTO ครั้งแรกก็จัดที่นี่) นึกถึงงานที่มินิมอล.ทีไร ก็นึกถึงความมันของการที่ไม่สามารถเอาสามัญสำนึกเดิมๆ ไทยๆ มาใช้การได้ นั่นทำให้เราได้ฝึกการคิดให้เข้าใจความแตกต่างอยู่เสมอ ภายในบรรยากาศที่ทุกคนที่เข้ามา ต่างหลอมละลายหากันด้วยสุรา ไส้ย่าง และความฮาเฮ ทั้งหมดนี้คงเกิดไม่ได้ถ้าที่ยืนอยู่หลังบาร์มาตั้งแต่วันแรก ไม่ใช่ ทีมมินิมอล.ทีมนี้ ทั้ง เมธ เบียร์ หนึ่ง อ้วน ฯลฯ<br /><br />อะไรๆ ก็ไม่จีรัง เหล็กฝังไว้กับพื้นยังหายเฉย มินิมอล.จะหายไปก็ไม่แปลกใจ แต่เป็นไปได้ก็อยากบันทึกไว้ ไม่มีที่นี่ ก็คงไม่มีคนรุ่นใหม่ๆ ในหลายๆ สายที่พูดถึงข้างต้น และไม่แตกกอให้ศิลปะแถวนี้ มีความเป็นไปได้ที่กว้างขวางยิ่งกว่าที่ใดในไทย แต่คุยกับเมธแล้ว ทุกอย่างได้หายไปกับแอ็คเคาทน์ facebook เก่าหมดแล้ว ...ชิบหาย แม่ง...เหมือนมันไม่เคยมีอยู่จริงเลย แกลเลอรี่หนึ่งจุดแดงแห่งนี้ต้องพบกับชะตากรรมเดียวกันกับ เชียงใหม่จัดวางฯ ที่เหลือแต่รูปไว้ให้คน 20 ปีข้างหน้ามาไล่ถามกับตาลุงแบบเราๆ ที่จะเริ่มจำอะไรไม่ได้หรอวะ...<br /><br />ไม่ดิ ใครมีเอกสาร หลักฐานอะไร ที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการ/กิจกรรมของ minimal. gallery ที่ผ่านมาทั้งหมด รบกวนช่วยส่งมารวบรวมไว้ที่ CAC หน่อย เรามีโครงการทำ archive ประวัติศาสตร์ศิลป์เชียงใหม่ ที่ไม่ต้องถอยไปไกลถึงหลักร้อยปี ชีวิตของพวกเรานี่แหละ ที่บอกเรื่องราวของวันข้างหน้าได้จริง ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งสะดวกสำหรับการศึกษาทำความเข้าใจเท่านั้น<br /><br />ขนมาที่ CAC - Chiang Mai Art Conversation ได้เลย อยู่ในออฟฟิศ ACS (Asian Culture Station) ซอยคอนโดฮิลไซด์ นิมมานฯ ฝั่งเลขคู่ หรือ inbox มาสอบถามก่อนได้ครับ",
"to": [
"https://www.w3.org/ns/activitystreams#Public"
],
"cc": [
"https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/followers"
],
"tag": [],
"url": "https://www.minds.com/newsfeed/706408133198618628",
"published": "2017-05-03T07:33:38+00:00",
"source": {
"content": "เพิ่งยืนยันข่าว minimal. gallery เลิกกิจการไป อีกไม่กี่เดือนจะครบ 10 ปีแล้วแท้ๆ เศร้าเหมือนกัน ด้วยเป็นที่สิงสู่ที่แรกๆ ช่วงย้ายมาอยู่เชียงใหม่ แสดงงานในเชียงใหม่ครั้งแรกก็ที่นี่ จนพอพ้นวัยพ้นกลุ่มคนก็ห่างๆ กันไป ที่จริงก็ใจหายไปรอบนึงแล้วตั้งแต่ตอนร้านโดนคดี x2 ม.44 ระงับใบอนุญาตขายเหล้าไป ศิลปะมันจะแยกจากเมรัยได้ยังไงกัน ยกเว้นเสียแต่จะเป็นคนชอบแสดงตนอยู่ในจริตศีลธรรมสูงส่งจนพ้นความเป็นคน หรือร่างกายเสื่อมชราจนโดนหมอสั่งแบนแอลกอฮอล์ มนุษย์ไม่ได้เข้าใกล้กันง่ายดาย และรายได้แกลเลอรี่เล็กๆ ก็มีเหล้านี่แหละที่พอจะขับเคลื่อนให้คล่องตัว\n\nมินิมอล.เป็นพื้นที่สำคัญในการหล่อหลอมวัฒนธรรมคนรุ่น \"หลัง\" ควันหลงเชียงใหม่จัดวางฯ ช่วงเวลาที่ศิลปินร่วมสมัยที่ลุยกันมาตั้งแต่ยุค 90 กำลังเข้าไปต่อรองกับกลุ่มประเพณีนิยม/ท้องถิ่นนิยมใน หอศิลป์ มช.ฯ รวมถึงออกไปแสดงพลังในเวทีนานาชาติ เด็กท้องถิ่นก็กำลังแกว่งไกวด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลและสภาวะโลกาภิวัตน์ที่พาสิ่งใหม่ๆ มากมายไหลบ่าเข้ามาให้ลองให้เรียนรู้กัน ไม่ว่าจะเป็น lomography / ดนตรี indie / graffiti / illustration / graphic art / interactive / programming ซึ่งล้วนแล้วแต่ตั้งตนขบถต่อมาตรฐานที่ปักหลักก่อนหน้าตนมายาวนานในวงการต่างๆ การเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จะไม่เติบโตเลยหากไม่มีพื้นที่ให้บ่มเพาะทั้งการสร้างสรรค์ ผลิตมันขึ้นมาให้เห็น และเสพใช้มัน\n\nมินิมอล.เริ่มต้นบนนิมมานซอย 13 เมื่อปี 2007 สปิริตที่สำคัญในเชียงใหม่ช่วงนั้น คือ สปิริตแห่งการทดลอง-ความผิดท่าผิดกลิ่น-การหาคำถามใหม่ที่ไม่พาไปสู่คำตอบเก่าๆ เมืองที่ไม่ใช่เมืองหลวง แต่ก็อยากเป็นตัวของตัวเอง ที่ไม่ใช่ที่เคยมีมากว่า 700 ปี ก่อนหน้านั้น มันไม่ง่ายเลยที่ของใหม่ๆ เหล่านี้จะมีคนอุดหนุนซื้อขายกัน แต่ ทีมมินิมอล. กลับเลือกจะทำแกลเลอรี่ที่ลุยไปกับวัฒนธรรมที่ยังเยาว์เหล่านี้ ทั้งเปิดพื้นที่ให้คนทุกกลุ่มได้แสดงออก จัดหาตัวเจ๋งๆ จากเมืองอื่นๆ มาให้ได้ดูกัน ชักชวนผู้คนมาสร้างส่วนผสมที่คนอื่นเค้าไม่ผสมกัน\n\nยังจำได้ถึงงานแสดงผลงานของ วรุฒม์ ปันยารชุน, งานศิลปะจากเพลงของ รงค์ สุภารัตน์, นิทรรศการจากโครงการ One Year Project ของ The Land Foundation, งาน ลายสังเคราะห์ กราฟฟิกเสื้อยืด, หุ่นยนต์อินเตอร์แอ็คทีฟผสม performance พี่คาเงะ, ไอ้เป็ดแปลงร่างเป็นตำรวจมาแจกใบสั่งบังคับให้ทุกคนเมา-มัน ฯลฯ (madiFESTO ครั้งแรกก็จัดที่นี่) นึกถึงงานที่มินิมอล.ทีไร ก็นึกถึงความมันของการที่ไม่สามารถเอาสามัญสำนึกเดิมๆ ไทยๆ มาใช้การได้ นั่นทำให้เราได้ฝึกการคิดให้เข้าใจความแตกต่างอยู่เสมอ ภายในบรรยากาศที่ทุกคนที่เข้ามา ต่างหลอมละลายหากันด้วยสุรา ไส้ย่าง และความฮาเฮ ทั้งหมดนี้คงเกิดไม่ได้ถ้าที่ยืนอยู่หลังบาร์มาตั้งแต่วันแรก ไม่ใช่ ทีมมินิมอล.ทีมนี้ ทั้ง เมธ เบียร์ หนึ่ง อ้วน ฯลฯ\n\nอะไรๆ ก็ไม่จีรัง เหล็กฝังไว้กับพื้นยังหายเฉย มินิมอล.จะหายไปก็ไม่แปลกใจ แต่เป็นไปได้ก็อยากบันทึกไว้ ไม่มีที่นี่ ก็คงไม่มีคนรุ่นใหม่ๆ ในหลายๆ สายที่พูดถึงข้างต้น และไม่แตกกอให้ศิลปะแถวนี้ มีความเป็นไปได้ที่กว้างขวางยิ่งกว่าที่ใดในไทย แต่คุยกับเมธแล้ว ทุกอย่างได้หายไปกับแอ็คเคาทน์ facebook เก่าหมดแล้ว ...ชิบหาย แม่ง...เหมือนมันไม่เคยมีอยู่จริงเลย แกลเลอรี่หนึ่งจุดแดงแห่งนี้ต้องพบกับชะตากรรมเดียวกันกับ เชียงใหม่จัดวางฯ ที่เหลือแต่รูปไว้ให้คน 20 ปีข้างหน้ามาไล่ถามกับตาลุงแบบเราๆ ที่จะเริ่มจำอะไรไม่ได้หรอวะ...\n\nไม่ดิ ใครมีเอกสาร หลักฐานอะไร ที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการ/กิจกรรมของ minimal. gallery ที่ผ่านมาทั้งหมด รบกวนช่วยส่งมารวบรวมไว้ที่ CAC หน่อย เรามีโครงการทำ archive ประวัติศาสตร์ศิลป์เชียงใหม่ ที่ไม่ต้องถอยไปไกลถึงหลักร้อยปี ชีวิตของพวกเรานี่แหละ ที่บอกเรื่องราวของวันข้างหน้าได้จริง ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งสะดวกสำหรับการศึกษาทำความเข้าใจเท่านั้น\n\nขนมาที่ CAC - Chiang Mai Art Conversation ได้เลย อยู่ในออฟฟิศ ACS (Asian Culture Station) ซอยคอนโดฮิลไซด์ นิมมานฯ ฝั่งเลขคู่ หรือ inbox มาสอบถามก่อนได้ครับ",
"mediaType": "text/plain"
}
},
"id": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/entities/urn:activity:706408133198618628/activity"
},
{
"type": "Create",
"actor": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730",
"object": {
"type": "Note",
"id": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/entities/urn:activity:706407040171384839",
"attributedTo": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730",
"content": "เคยคุยกับนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ที่ปรึกษาภาครัฐ เวลาเขามองเศรษฐกิจ เขามองในระนาบมหภาคก็มหภาคจริงๆ ไม่มีความสัมพันธ์อะไรกับส่วนย่อย ไม่เห็นที่มาของปัจจัยการผลิต หรือปัญหาเบื้องต้นในแรงงาน แค่ตัวเลขการส่งออกดีก็ดีแล้ว การละเมิดสิทธิมนุษยชน รวบทรัพยากรเข้าศูนย์ ลดทอนความสร้างสรรค์ด้วยการปิดกั้นการแสดงออก ไม่ได้มีความสำคัญอะไรกับส่วนที่เขาใส่ใจ<br /><br />เช่นเดียวกันกับสายตาแบบราชการของรัฐไทยในภาคศิลปะวัฒนธรรม มันเป็นกระชอนตาถ่างที่กรองให้เห็นได้แต่ชื่อใหญ่ๆ ที่น่าช้อนไปเพื่อหมุนตัวเลขทางเศรษฐกิจ เมื่อถามถึงความเข้าใจต่อตัวปฏิบัติการในวงการ เขาก็ให้คำตอบเป็นอาคาร ร้านค้า แกลเลอรี่ ไม่มีผู้คนที่ทำงานหล่อเลี้ยงความคิดใหม่ๆ ให้เติบโตอยู่ในการมองนั้น<br /><br />ทำงานกับญี่ปุ่นนับถืออยู่ข้อนึง เขาเห็นประเทศเราชัดกว่ารัฐของเราเองเสียอีก มองเข้ามาจนรู้ว่ามีใคร หน้าตาอย่างไร ฝันถึงอะไรอยู่บ้าง จะตัวเล็กตัวใหญ่เขาสนใจหมด รอดูการเติบโตเป็นมืออาชีพที่ทำงานด้วยกันในอนาคตต่อไปได้ (ถ้าโตนะ)<br /><br />แง่หนึ่งความละเอียดในการมองสังคม มันบอกถึงฐานคิดที่รัฐมีต่อประเทศตัวเอง สิ่งที่รัฐไทยต้องการจะปฏิสัมพันธ์ด้วย ไม่ใช่คนในประเทศ แต่เป็นคนต่างชาติที่จะขยับ GDP อันเป็นบารมีบนปกเสื้อแห่งรัฐเป็นหลัก เราเป็นนักผลิตตามออร์เดอร์นอกที่เก่งกาจ แต่สร้างอะไรขึ้นมาเองแทบไม่เป็น คนในประเทศที่มีความสามารถทางการผลิตพอที่จะทำอะไรไปขายต่างชาติได้ เป็นเหมือนมนุษย์พรสวรรค์ ปาฏิหาริย์ที่ไร้ที่มา แต่รัฐก็พร้อมจะโดดเกาะให้ตัวเองมีที่ไป<br /><br />เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจแบบรอ 'เทพบุตร' จุติมาโปรด รัฐไม่เคยเห็นความจำเป็นในการทำนุบำรุงต้นทุนที่เรียกว่า 'คน' ตัวเล็กๆ ที่เป็นทั้งผู้สร้างชุมชนแห่งการถกและเถียง เพื่อสร้างความคิด ความรู้ รสนิยม ให้เกิดการผลิตที่เป็นจริง รวมทั้งเป็นฐานให้เกิดชื่อใหญ่ๆ ต่อไปในอนาคต 4.0 ที่มีแต่การเร่งเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จะไม่ไปไหนเลยนอกจากร้านรับอัดกรอบพระด้วยโพลีคาร์บอเนต<br /><br />(แต่ในแง่นึง ความละเอียดในการมองรัฐตนเองอย่างไม่มีการให้คุณค่าความเป็นคน เน้นจำกัดทุกสิ่งเพื่อความมั่นคงของตัวรัฐเอง ยิ่งมองได้ละเอียดเท่าไหร่ ยิ่งอันตรายต่อชีวิตประชาชนเท่านั้นไปด้วย อยู่ในรัฐแบบนี้เป็นคนตัวเล็กจนลอดรูกระชอนจะดีกว่า ก็ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมรัฐจึงไม่เคยควานหาคนตัวใหญ่ได้เยอะพอจะแข่งอะไรกับใครในโลกได้)",
"to": [
"https://www.w3.org/ns/activitystreams#Public"
],
"cc": [
"https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/followers"
],
"tag": [],
"url": "https://www.minds.com/newsfeed/706407040171384839",
"published": "2017-05-03T07:29:22+00:00",
"source": {
"content": "เคยคุยกับนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ที่ปรึกษาภาครัฐ เวลาเขามองเศรษฐกิจ เขามองในระนาบมหภาคก็มหภาคจริงๆ ไม่มีความสัมพันธ์อะไรกับส่วนย่อย ไม่เห็นที่มาของปัจจัยการผลิต หรือปัญหาเบื้องต้นในแรงงาน แค่ตัวเลขการส่งออกดีก็ดีแล้ว การละเมิดสิทธิมนุษยชน รวบทรัพยากรเข้าศูนย์ ลดทอนความสร้างสรรค์ด้วยการปิดกั้นการแสดงออก ไม่ได้มีความสำคัญอะไรกับส่วนที่เขาใส่ใจ\n\nเช่นเดียวกันกับสายตาแบบราชการของรัฐไทยในภาคศิลปะวัฒนธรรม มันเป็นกระชอนตาถ่างที่กรองให้เห็นได้แต่ชื่อใหญ่ๆ ที่น่าช้อนไปเพื่อหมุนตัวเลขทางเศรษฐกิจ เมื่อถามถึงความเข้าใจต่อตัวปฏิบัติการในวงการ เขาก็ให้คำตอบเป็นอาคาร ร้านค้า แกลเลอรี่ ไม่มีผู้คนที่ทำงานหล่อเลี้ยงความคิดใหม่ๆ ให้เติบโตอยู่ในการมองนั้น\n\nทำงานกับญี่ปุ่นนับถืออยู่ข้อนึง เขาเห็นประเทศเราชัดกว่ารัฐของเราเองเสียอีก มองเข้ามาจนรู้ว่ามีใคร หน้าตาอย่างไร ฝันถึงอะไรอยู่บ้าง จะตัวเล็กตัวใหญ่เขาสนใจหมด รอดูการเติบโตเป็นมืออาชีพที่ทำงานด้วยกันในอนาคตต่อไปได้ (ถ้าโตนะ)\n\nแง่หนึ่งความละเอียดในการมองสังคม มันบอกถึงฐานคิดที่รัฐมีต่อประเทศตัวเอง สิ่งที่รัฐไทยต้องการจะปฏิสัมพันธ์ด้วย ไม่ใช่คนในประเทศ แต่เป็นคนต่างชาติที่จะขยับ GDP อันเป็นบารมีบนปกเสื้อแห่งรัฐเป็นหลัก เราเป็นนักผลิตตามออร์เดอร์นอกที่เก่งกาจ แต่สร้างอะไรขึ้นมาเองแทบไม่เป็น คนในประเทศที่มีความสามารถทางการผลิตพอที่จะทำอะไรไปขายต่างชาติได้ เป็นเหมือนมนุษย์พรสวรรค์ ปาฏิหาริย์ที่ไร้ที่มา แต่รัฐก็พร้อมจะโดดเกาะให้ตัวเองมีที่ไป\n\nเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจแบบรอ 'เทพบุตร' จุติมาโปรด รัฐไม่เคยเห็นความจำเป็นในการทำนุบำรุงต้นทุนที่เรียกว่า 'คน' ตัวเล็กๆ ที่เป็นทั้งผู้สร้างชุมชนแห่งการถกและเถียง เพื่อสร้างความคิด ความรู้ รสนิยม ให้เกิดการผลิตที่เป็นจริง รวมทั้งเป็นฐานให้เกิดชื่อใหญ่ๆ ต่อไปในอนาคต 4.0 ที่มีแต่การเร่งเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จะไม่ไปไหนเลยนอกจากร้านรับอัดกรอบพระด้วยโพลีคาร์บอเนต\n\n(แต่ในแง่นึง ความละเอียดในการมองรัฐตนเองอย่างไม่มีการให้คุณค่าความเป็นคน เน้นจำกัดทุกสิ่งเพื่อความมั่นคงของตัวรัฐเอง ยิ่งมองได้ละเอียดเท่าไหร่ ยิ่งอันตรายต่อชีวิตประชาชนเท่านั้นไปด้วย อยู่ในรัฐแบบนี้เป็นคนตัวเล็กจนลอดรูกระชอนจะดีกว่า ก็ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมรัฐจึงไม่เคยควานหาคนตัวใหญ่ได้เยอะพอจะแข่งอะไรกับใครในโลกได้)",
"mediaType": "text/plain"
}
},
"id": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/entities/urn:activity:706407040171384839/activity"
},
{
"type": "Create",
"actor": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730",
"object": {
"type": "Note",
"id": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/entities/urn:activity:605767960816005132",
"attributedTo": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730",
"content": "#ChiangMai #ArtHistory หนังผีวัยรุ่น มหาลัยเที่ยงคืน กำลังจะเข้าฉายในโรง เร็วๆ นี้ หลังจากมีคนตั้งกระทู้ถามถึงข่าวลือว่าเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยผีสิงในเว็บ pantip เมื่อราว 1 - 2 ปีที่ก่อน แท้จริงแล้ว \"มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน\" ไม่ได้อยู่ไหนไกล แต่มีต้นกำเนิดในเชียงใหม่นี่เอง และยังไม่ได้หายไปไหน แค่ถูก ICT บล็อกเว็บไซต์มานาน จนคนทำเองยังเกือบลืมไปแล้วว่ามี<br /><br />มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เกิดขึ้นหลังช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี 2535 โดยเป็นการรวมตัวของกลุ่มกิจกรรมต่างๆ เข้ามาพบปะสังสรรค์พูดคุยกันในประเด็นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมกัน ในช่วงเย็น ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน ที่บ้านหลังหนึ่งในเชียงใหม่ และนำไปสู่การร่วมกันจัดกิจกรรมหลากหลาย รวมถึงการเปิดเวทีเสวนาล้อมรอบกองไฟที่ข่วงท่าแพกันในงาน \"สัปดาห์ร่วมทุกข์\" ที่เป็นการใช้เวลาสัปดาห์เข้าปีใหม่ใน \"ศิลปเทศกาลเชียงใหม่จัดวางสังคม\" แต่ละครั้ง เพื่อพิจารณาประเด็นทางสังคมต่างๆ เรื่อยมา<br /><br />การร่วมงานกันได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเครือข่ายทางวิชาการในช่วงรณรงค์ให้รัฐบาลรับรับ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ (ฉบับประชาชน) โดยมีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ประชุมนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวภาคประชาชนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งคณาจารย์และนักศึกษาหลายคนของคณะวิจิตรศิลป์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ทั้งธงเขียว ป้ายผ้า ประติมากรรม และการแสดงกลางท้องถนน ในงาน \"ปอยหลวงจัดวางรัฐธรรมนูญ\" ปี 2540<br /><br />ในปีที่ได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมานั้นเอง พวกเขาเริ่มใช้พื้นที่ของ GeoCities (เว็บบริการพื้นที่ฟรีในทศวรรษ 90) และย้ายมาเช่าพื้นที่ของตัวเองเป็น midnightuniv.org ในปี 2547 สำหรับเผยแพร่บทความวิชาการหลากหลายสาขา ให้อ่านและส่งต่อกันฟรีๆ กว่า 1,700 เรื่อง (35,000 หน้า ไฟล์ word) ตามหลักการ ลิขซ้าย (Copyleft) ที่ สมเกียรติ ตั้งนโม เลือกใช้เพื่อส่งเสริมความเติบโตทางด้านวัฒนธรรม จนกลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้นอกมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่<br /><br />\"มหาวิทยาลัยกลางวัน มุ่งผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้หน่วยงานขนาดใหญ่ของประเทศเป็นหลัก เป็นการผลิตแรงงานสมอง มุ่งไปรับใช้ราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน อุตสาหกรรม ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้ มองดูแล้ว ไม่ต่างอะไรไปจากโรงเรียนฝึกลูกจ้าง มากกว่าที่จะเป็นมหาวิทยาลัย ที่ควรจะผลิตคนให้รู้จักกับความรู้ เพื่อไปพัฒนาชีวิต สังคม และบุคคลให้มีความสุข ดังนั้นมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงมุ่งกระทำในสิ่งที่แตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยกลางวัน\" (ข้อความจากประวัติมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ใน archive และ <a href=\"http://bit.ly/2awe0gV\" target=\"_blank\">http://bit.ly/2awe0gV</a>)<br /><br />บทความด้านวัฒนธรรมทางสายตาในเว็บไซต์นี้เอง ก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเปิดมุมมองให้ศิลปินร่วมสมัยรุ่นใหม่หลายคนทำงานสัมพัทธ์กับความเป็นไปทางศิลปะโลกมากขึ้น จนหลังรัฐประหาร 2549 เว็บไซต์ถูกคุกคามปิดกั้นการเผยแพร่ข้อมูลเรื่อยมา แม้จะเคยได้รับเชิญเข้าร่วมทำโครงการในเทศกาลศิลปะ Documenta 12 ในปี 2550 แต่การปรากฏตัวออนไลน์เป็นเพียงพักๆ ก็ทำให้ความหลากหลายทางวิชาการและผลทางวัฒนธรมของที่นี่ เริ่มจางหายไปจากความรู้จักของสังคมในที่สุด<br /><br />\"กลางวันมืด กลางคืนกลับสว่าง\" — มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน<br /><br />ภาพ: \"Midnight University\" The Week of Suffering III at Tha Phae Gate (1997)",
"to": [
"https://www.w3.org/ns/activitystreams#Public"
],
"cc": [
"https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/followers"
],
"tag": [],
"url": "https://www.minds.com/newsfeed/605767960816005132",
"published": "2016-07-29T14:25:33+00:00",
"source": {
"content": "#ChiangMai #ArtHistory หนังผีวัยรุ่น มหาลัยเที่ยงคืน กำลังจะเข้าฉายในโรง เร็วๆ นี้ หลังจากมีคนตั้งกระทู้ถามถึงข่าวลือว่าเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยผีสิงในเว็บ pantip เมื่อราว 1 - 2 ปีที่ก่อน แท้จริงแล้ว \"มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน\" ไม่ได้อยู่ไหนไกล แต่มีต้นกำเนิดในเชียงใหม่นี่เอง และยังไม่ได้หายไปไหน แค่ถูก ICT บล็อกเว็บไซต์มานาน จนคนทำเองยังเกือบลืมไปแล้วว่ามี\n\nมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เกิดขึ้นหลังช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี 2535 โดยเป็นการรวมตัวของกลุ่มกิจกรรมต่างๆ เข้ามาพบปะสังสรรค์พูดคุยกันในประเด็นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมกัน ในช่วงเย็น ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน ที่บ้านหลังหนึ่งในเชียงใหม่ และนำไปสู่การร่วมกันจัดกิจกรรมหลากหลาย รวมถึงการเปิดเวทีเสวนาล้อมรอบกองไฟที่ข่วงท่าแพกันในงาน \"สัปดาห์ร่วมทุกข์\" ที่เป็นการใช้เวลาสัปดาห์เข้าปีใหม่ใน \"ศิลปเทศกาลเชียงใหม่จัดวางสังคม\" แต่ละครั้ง เพื่อพิจารณาประเด็นทางสังคมต่างๆ เรื่อยมา\n\nการร่วมงานกันได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเครือข่ายทางวิชาการในช่วงรณรงค์ให้รัฐบาลรับรับ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ (ฉบับประชาชน) โดยมีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ประชุมนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวภาคประชาชนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งคณาจารย์และนักศึกษาหลายคนของคณะวิจิตรศิลป์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ทั้งธงเขียว ป้ายผ้า ประติมากรรม และการแสดงกลางท้องถนน ในงาน \"ปอยหลวงจัดวางรัฐธรรมนูญ\" ปี 2540\n\nในปีที่ได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมานั้นเอง พวกเขาเริ่มใช้พื้นที่ของ GeoCities (เว็บบริการพื้นที่ฟรีในทศวรรษ 90) และย้ายมาเช่าพื้นที่ของตัวเองเป็น midnightuniv.org ในปี 2547 สำหรับเผยแพร่บทความวิชาการหลากหลายสาขา ให้อ่านและส่งต่อกันฟรีๆ กว่า 1,700 เรื่อง (35,000 หน้า ไฟล์ word) ตามหลักการ ลิขซ้าย (Copyleft) ที่ สมเกียรติ ตั้งนโม เลือกใช้เพื่อส่งเสริมความเติบโตทางด้านวัฒนธรรม จนกลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้นอกมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่\n\n\"มหาวิทยาลัยกลางวัน มุ่งผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้หน่วยงานขนาดใหญ่ของประเทศเป็นหลัก เป็นการผลิตแรงงานสมอง มุ่งไปรับใช้ราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน อุตสาหกรรม ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้ มองดูแล้ว ไม่ต่างอะไรไปจากโรงเรียนฝึกลูกจ้าง มากกว่าที่จะเป็นมหาวิทยาลัย ที่ควรจะผลิตคนให้รู้จักกับความรู้ เพื่อไปพัฒนาชีวิต สังคม และบุคคลให้มีความสุข ดังนั้นมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงมุ่งกระทำในสิ่งที่แตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยกลางวัน\" (ข้อความจากประวัติมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ใน archive และ http://bit.ly/2awe0gV)\n\nบทความด้านวัฒนธรรมทางสายตาในเว็บไซต์นี้เอง ก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเปิดมุมมองให้ศิลปินร่วมสมัยรุ่นใหม่หลายคนทำงานสัมพัทธ์กับความเป็นไปทางศิลปะโลกมากขึ้น จนหลังรัฐประหาร 2549 เว็บไซต์ถูกคุกคามปิดกั้นการเผยแพร่ข้อมูลเรื่อยมา แม้จะเคยได้รับเชิญเข้าร่วมทำโครงการในเทศกาลศิลปะ Documenta 12 ในปี 2550 แต่การปรากฏตัวออนไลน์เป็นเพียงพักๆ ก็ทำให้ความหลากหลายทางวิชาการและผลทางวัฒนธรมของที่นี่ เริ่มจางหายไปจากความรู้จักของสังคมในที่สุด\n\n\"กลางวันมืด กลางคืนกลับสว่าง\" — มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน\n\nภาพ: \"Midnight University\" The Week of Suffering III at Tha Phae Gate (1997)",
"mediaType": "text/plain"
}
},
"id": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/entities/urn:activity:605767960816005132/activity"
}
],
"id": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/outbox",
"partOf": "https://www.minds.com/api/activitypub/users/575235407306825730/outboxoutbox"
}